วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

ผลงานของคาราบาวทุกชุด




                                                                    1.ขี้เมา (พ.ศ. 2524) 
                                                          2.แป๊ะขายขวด (พ.ศ. 2525)
   
                                                                          3.วณิพก (พ.ศ. 2526)
                                  
                            
                                                         4.ท.ทหารอดทน (พ.ศ. 2526)
                               
5.เมด อิน ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2527)
รายชื่อเพลง
1.เมดอินไทยแลนด์ / 2.มหา ลัย / 3.ลูกหิน / 4.ลูกแก้ว / 5.หำเทียม
6.สองเฒ่าผู้ยิ่งใหญ่ / 7.ราชาเงินผ่อน / 8.นางงามตู้กระจก / 9.เรฟูจี / 10.บัวลอย (ถึกควายทุย ภาค ๕)

6.อเมริโกย (พ.ศ. 2528)

7.ประชาธิปไตย (พ.ศ. 2529)

8.เวลคัม ทู ไทยแลนด์ (พ.ศ. 2530)

9.ทับหลัง (พ.ศ. 2531)

ทำมือ (พ.ศ. 2532)

ห้ามจอดควาย (พ.ศ. 2533)

วิชาแพะ (พ.ศ. 2534)

สัจจะ ๑๐ ประการ (พ.ศ. 2535)

ช้างไห้ (พ.ศ. 2536)

รุ่นคนสร้างชาติ (พ.ศ. 2537)

แจกกล้วย (พ.ศ. 2538)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 15ปีหัวใจยังรักควาย
15 ปี คาราบาว หากหัวใจยังรักควาย (พ.ศ. 2538)

เส้นทางสายปลาแดก (พ.ศ. 2540)

เช  ยังไม่
ตาย (พ.ศ. 2540)
อเมริกันอันธพาล (พ.ศ. 2541)
พออยู่พอกิน (พ.ศ. 2541)
เซียมหล่อตือ (พ.ศ. 2543)

สาวเบียร์ช้าง (พ.ศ. 2544)

นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 2545)

สามัคคีประเทศไทย (พ.ศ. 2548)

ลูกลุงขี้เมา (พ.ศ. 2550)

โฮะ (พ.ศ. 2552)

กำลังใจคาราบาว 30 ปี (พ.ศ. 2554)

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

ประวัติ น้อง คาราบาว (ศยาพร สิงห์ทอง)



นาย ศยาพร สิงห์ทอง (น้อง)
เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2506
ภูมิลำเนาเดิม 61/1017 หมู่ 2 ตำบลท่าตลาด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ระดับการศึกษา : ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.ว.ส.)
ตำแหน่งในวงคาราบาว : Percasion , ประสาน
ประสบการณ์ก่อนร่วมกับคาราบาว : เล่นดนตรีตามผับ, ร่วมงานกับวงฟรีเบิร์ด, ฤทธิพร อินสว่าง, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, อี๊ด โอภากุล
ร่วมงานกับคาราบาว : คาราบาวชุดที่ 13 ช้างไห้

มุมมองกับคาราบาว : เป็นตัวอย่างของเพลงเพื่อชีวิตและการต่อสู้
บทเพลงที่ชื่นชอบ : ทุกบทเพลงของคาราบาว เพราะว่ามีความหมายและมีสาระ แล้วก็สอนให้ทุกคนต่อสู้กับชีวิต สะท้อนสังคม
ศิลปินต้นแบบ : พี่ๆ ในวงคาราบาวทุกคน 
ชีวิตส่วนตัว น้องสมรสแล้วและมีลูกสาวหนึ่งคนชื่อเล่นว่า อะตอม น้องได้ขอลาออกจากวงไปในปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากป่วยเป็นระยะเวลานาน และได้เสียชีวิตไปในเวลาเช้าของวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557


ประวัติ โก้ คาราบาว (ชูชาติ หนูด้วง)

ชูชาติ หนูด้วง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โก้ คาราบาว มือกลองของวงคาราบาว มีชื่อเล่นว่า โก้ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 (68 ปี) ที่กรุงเทพมหานคร เป็นชาวไทยมุสลิม จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย


โก้ ตีกลองในแนวเฮฟวี่ เมทัลและเคยร่วมเป็นสมาชิกในวงดนตรีเฮฟวี่ เมทัลต่าง ๆ มาแล้ว เป็นจำนวนมาก เช่น นิวเวฟ, คาไลโดสโคป, ชัคกี้ ธัญญรัตน์ และ บลู  พลาเน็ต เป็นต้น




เข้าร่วมวงคาราบาวในหน้าที่มือกลองอัลบั้มชุดที่ 11 วิชาแพะ ในปี พ.ศ. 2534 และเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในอัลบั้ม สัจจะ ๑๐ ประการ จนถึงปัจจุบัน



ประวัติ อ้วน คาราบาว (ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย)

ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ อ้วน คาราบาว เป็นสมาชิกคนล่าสุดของวงคาราบาว เดิมมีชื่อว่า เทพผจญ พันธุ์พงษ์ไทย มีชื่อเล่นว่า อ้วน เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

อ้วนมีความผูกพันกับคาราบาวมาตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อน้าของอ้วนเปิดเพลงเพื่อชีวิต รวมทั้งเพลงของคาราบาวให้ได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ เฉพาะคาราบาวน้าเปิดเพลงในอัลบั้มชุดที่ 4 ของวงคาราบาว คือ ท.ทหารอดทน
เริ่มต้นการเล่นดนตรีจากการเป็นนักดนตรีในวงดุริยางค์ เมื่อเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นบ้านเกิดของอ้วนเอง
อ้วนเล่นดนตรีในฐานะนักดนตรีอาชีพ ด้วยการเป็นแบ๊คอัพให้กับนักร้องในบริษัทแกรมมี่หลายคน เช่น แอม - เสาวลักษณ์ ลีละบุตร, ตั้ม - สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์, ก้อย - ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์, ปั่น - ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว หรือ หนู มิเตอร์ ในชื่อวง Power


มีโอกาสเข้าร่วมงานกับคาราบาวครั้งแรก จากการชักชวนของดุก - ลือชัย งามสม ในการบันทึกเสียงเพลงประกอบการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ โดยอ้วนเป็นมือกลอง อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทฤษฎีดนตรีเพิ่มเติมจากบรูซ แกสตัน แห่งวงฟองน้ำอีกด้วย
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 เมื่อโก้ - ชูชาติ หนูด้วง มือกลองของวงป่วยเป็นโรคปลายเส้นประสาทอักเสบ ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ตรงกับช่วงเวลาที่คาราบาวกำลังจะทำอัลบั้มพิเศษชุด คาราบาว อินเตอร์ อ้วนจึงมาทำหน้าที่มือกลองแทน และได้รับการตอบรับเป็นสมาชิกจาก แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล หัวหน้าวง เมื่อได้หยิบขลุ่ยขึ้นมาเป่าขณะเล่นคอนเสิร์ตที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสามารถ อ้วนจึงกลายมาเป็นสมาชิกของคาราบาวอย่างเต็มตัว และถือเป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุด
ในคอนเสิร์ต 20 ปี คาราบาว เรื่องราวของคน ดนตรี และเขาควาย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 นั้น อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี อดีตสมาชิกซึ่งปกติจะเป็นผู้เป่าขลุ่ยและแซกโซโฟนเกิดติดธุระสำคัญที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่อาจมาร่วมแสดงได้ อ้วนจึงรับหน้าที่นี้แทน โดยมีเวลาฝึกแซกโซโฟนก่อนคอนเสิร์ตจะเริ่มเพียง 3 วันเท่านั้น

ปัจจุบัน อ้วน รับหน้าที่ทั้งเล่นกลอง, คีย์บอร์ด, ขลุ่ย, แซกโซโฟน ตลอดจนร้องประสานด้วย รวมทั้งร้องนำในเพลง สุรชัย 3 ช่า โดยเสมือนตัวแทนของ สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน โดยมีนักดนตรีในดวงใจ คือ อากิระ จิมโบ มือกลองแห่งวง Casiopea วงฟิวชั่นแจ๊สของประเทศญี่ปุ่น

ประวัติ หมี คาราบาว(ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ)

ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ หรือ หมี คาราบาว เกิดวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2509 (49 ปี) ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชื่อเล่นว่า หมี เป็นมือกีตาร์ของวงคาราบาวในยุคปัจจุบัน เข้าร่วมวงกับคาราบาวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จากอัลบั้ม ช้างไห้

หมีมีสไตล์การเล่นกีตาร์ที่ดุดัน เช่น เพลง แร้งคอย, เช กูวาร่า, เปาบุ้นจิ้นกับคนตัดไม้, แม่สาว, เต่า, หลวงพ่อคูณ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ทำให้คาราบาวเปลี่ยนจากดนตรีแนวเพื่อชีวิตแท้ ๆ ให้กลายเป็นแนวร็อก เห็นได้ชัดในเพลง ลุงขี้เมา ที่มีการเล่นเป็นร็อกแตกต่างจากในอดีตที่เล็ก - ปรีชา ชนะภัย เล่น ชอบเล่นในสไตล์บลู ฟั๊งก์ ในอดีตเคยเป็นมือกีตาร์ของฤทธิพร อินสว่าง และวง Up the earth band และนอกจากเล่นกีตาร์ได้ดีแล้วยังเล่นแมนโดลินได้อีกด้วย



ชีวิตส่วนตัว สมรสแล้วมีลูกสาว 2 คนคือ ดาเรศ หุตะวัฒนะ และ ดารารัตน์ หุตะวัฒนะ ซึ่งปัจจุบันเป็นคอรัสให้กับคาราบาว และยังขายสุนัขที่ตลาดนัดสวนจตุจักร


ประวัติ ดุก คาราบาว (ลือชัย งามสม)

ลือชัย งามสม หรือ ดุก คาราบาว เป็นมือคีย์บอร์ด ของวงคาราบาว เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดชลบุรี ร่วมงานกับวงคาราบาวตั้งแต่อัลบั้ม วิชาแพะ ในปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเล่นคีย์บอร์ดในอัลบั้มเดี่ยวชุดหลัง ๆ ของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว อีกด้วย

ดุก คาราบาว จบการศึกษาจากโรงเรียนสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จากนั้นจึงศึกษาต่อด้านดนตรี ที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการ กรุงเทพมหานคร โดยเข้าร่วมวงดนตรีอาชีพครั้งแรกกับวงที่ชื่อสไปเดอร์ ตระเวนเล่นตามที่ต่าง ๆ จากนั้นอีก 5 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2519 จึงร่วมก่อตั้งวงดนตรีที่ชื่อมิชชั่น ร่วมกับ ปรีชา ชนะภัย (เล็ก คาราบาว ) และสุเทพ ปานอำพัน (เอ็ดดี้ ผู้ซึ่งต่อมากลายเป็นมือเบส วงซูซู) หลังจากเล็กได้ย้ายไปอยู่กับวงเพรสซิเดนท์ ทำให้ในเวลาต่อมามิชชั่น ตัดสินใจยุบวงในปี พ.ศ. 2525 และดุก ก็ย้ายไปเล่นให้วงแคนดี้ในช่วงสั้น ๆ ต่อมาจึงก่อตั้งวง ทราน สยามขึ้นในปี พ.ศ. 2526 และได้รับรางวัลรองแชมป์อันดับ 1 ถ้วยพระราชทานการประกวดวงดนตรี 350 วง ทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2527 ปี พ.ศ. 2530 ออกจากวง ทรานสยาม โดยศึกษาด้าน Sequencer กับเล็ก และได้ร่วมงานกับศิลปินหลาย ๆ คนเช่นหงา คาราวาน, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ



ปี พ.ศ. 2534 ได้ร่วมงานกับ คาราบาวเป็นครั้งแรก โดยการชักชวนของเล็กในช่วงที่สมาชิกคาราบาวในขณะนั้นแยกตัวออกมาหลายคน โดยทำหน้าที่เล่นคีย์บอร์ด ในอัลบั้ม วิชาแพะ และได้เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของวงในชุด สัจจะ ๑๐ ประการ โดยบทบาทในวงของดุกจะเป็นมือคีย์บอร์ดและแอคคอร์เดียน โดยไม่ได้เป็นนักร้องหลัก แต่ทำหน้าที่ประสานเสียง แต่ก็มีบางเพลงในสตูดิโออัลบั้มหรืออัลบัมพิเศษของสมาชิกในวง ที่ดุกเป็นนักร้องหลักให้ เช่น ร่มนักรัก ในอัลบั้ม ภูผาหมอก ของ เล็ก ในปี พ.ศ. 2535 หรือ โลกร้อน ในอัลบั้ม ลูกลุงขี้เมา ในปี พ.ศ. 2550 เป็นต้น เนื่องจากมีน้ำเสียงเจ้าเล่ห์ ฟังดูคล้ายคนขี้เล่น อารมณ์ดีตลอดเวลา จึงทำให้ดุกมีบทบาทเป็นเสมือนสีสันของวงเมื่อแสดงคอนเสิร์ตเช่นเดียวกับ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ในอดีต ชีวิตส่วนตัว สมรสแล้ว นอกจากการเป็นนักดนตรี และมีห้องบันทึกเสียง รับอัดรายการแล้วยังรับจัด event อีกด้วย

ประวัติ รัช คาราบาว (ไพรัช เพิ่มฉลาด)

ไพรัช เพิ่มฉลาด อดีตสมาชิกวงคาราบาว เคยมีผลงานร่วมกับวง 2 ชุด คือ ชุด "ท.ทหารอดทน" ในปี พ.ศ. 2526 และ "เมด อิน ไทยแลนด์" ในปี พ.ศ. 2527


ไพรัช มีชื่อเล่นว่า "หนุ่ม" (แต่นิยมเรียกกันในวงว่า "รัช") เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 ที่จังหวัดเชียงราย เป็นนักดนตรีแบ๊คอัพในห้องอัดของอโซน่า เข้าร่วมวงคาราบาวจากการชักชวนของ อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี โดยเข้าร่วมวงในตำแหน่งมือเบส และกีตาร์ พร้อมกับตัวอ.ธนิสร์เอง, เทียรี่ เมฆวัฒนา และ อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า) ทั้งนี้เนื่องจาก อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด) มือเบสอีกคนจากวงเพรสซิเดนท์ที่ได้มีการชักชวนมาก่อนหน้านั้นติดการเล่นอยู่กับวงเพรสซิเดนท์ที่สหรัฐอเมริกา ไพรัชจึงเข้ามาในวงเสมือนตัวแทนของอ๊อด จึงมีผลงานเพียง 2 ชุดเท่านั้นกับวงแต่กลับเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศจากอัลบั้มเมด อิน ไทยแลนด์ ที่สามารถทำยอดขายได้ถึง 5,000,000 ตลับ นอกจากนั้นไพรัชยังได้มีส่วนร่วมกับอัลบั้มชุด กัมพูชา ซึ่งเป็นอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ซึ่งเป็นหัวหน้าวงอีกด้วย



ไพรัช เพิ่มฉลาด เสียชีวิตลงในกลางปี พ.ศ. 2549 ด้วยโรคมะเร็งที่ลิ้น รวมอายุได้ 58 ปี